สุวิน จาวลา ได้รับปริญญาจาก Academy of Arts University มหาวิทยาลัยศิลปะในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ด้วยสาขาวิชาด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ วิชาเอกด้านการตัดต่อภาพยนตร์ เมื่อมองย้อนกลับไปในปีค.ศ. 2014 – 2015 จากการฝึกทัศนศิลป์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นเวลาสองปี คำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจของเขา “ศิลปะและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อกันอย่างไร” เขาได้ถ่ายทอดข้อความนี้โดยใช้สื่อหลากหลายตั้งแต่การวาดภาพไปจนถึงการถ่ายภาพและประติมากรรม สิ่งที่เขาได้ค้นพบคือการที่เขากำลังใช้ชีวิตเพื่อตามหาแก่นแท้ของการเล่าเรื่องในฐานะนักเขียน นักแต่งเพลงและนักตัดต่อวิดีโอ ในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนศิลปะ เขามุ่งเน้นไปที่กลไกพื้นฐานของการเล่าเรื่อง ซึ่งทุกๆส่วนประกอบเป็นรายละเอียดที่มีความสำคัญและมีส่วนทำให้เกิดผลงานชิ้นสุดท้าย จากขอบเขตของความบันเทิงสู่การเผยแพร่สื่อ ในโลกของภาพยนตร์การสร้างภาพยนตร์คือความพยายามร่วมกันกับผู้คนสร้างกลุ่มและรับงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เชี่ยวชาญ การสร้างภาพยนตร์เป็นศิลปะหรือเครื่องมือรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงและชื่นชมความเป็นจริงในรูปแบบที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง
ระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย ระหว่างปีค.ศ. 2015 – 2019 เขาได้มีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ เช่น การพัฒนาฉากภาพยนตร์ การตัดต่อและการออกแบบการผลิต ตลอดจนมุ่งเน้นไปที่การเป็นนักกิจกรรมที่เน้นเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการทรัพยากรผ่านการทำงานร่วมกันและการรณรงค์กับรัฐบาลท้องถิ่น เมื่อเขาได้กลับบ้านที่จังหวัดเชียงใหม่ ในประเทศไทย เขาได้ร่วมก่อตั้ง The Last Straw CNX ซึ่งเป็นโครงการอิสระในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขผ่านไลฟ์สไตล์ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยอิงจากคุณค่าพื้นฐานของการลด การใช้ซ้ำและการรีไซเคิล โดยสรุปแล้วเป้าหมายของแคมเปญนี้สนับสนุนให้ผู้คนใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งให้น้อยลง
ศิลปะแห่งการสร้างภาพยนตร์ช่วยให้เขาได้ปรับแต่งความสมดุลตามขอบเขตของศิลปะ วิทยาศาสตร์ อุดมการณ์และปรัชญา ซึ่งทำให้เขามองเห็นโลกจากมุมมองที่กว้างขึ้น เขามีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของการศึกษาสากลและในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดการงาน เขาได้มีส่วนร่วมในการผลิต TEDx Chiang Mai University และ TEDx Chiang Mai ในปีค.ศ.2021 ในตำแหน่งหัวหน้าเบื้องหลังงานสื่อ ซึ่งงานนี้ได้ฝึกฝนและขัดเกลาทักษะของเขาในฐานะช่างเทคนิคด้านสื่อ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเด็นด้านการศึกษาควรได้รับการขัดเกลาเป็นแนวทางสหสาขาวิชาชีพมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาจึงเชื่อว่าโปรแกรมที่อ้างอิงจากการศึกษาเชิงพัฒนาการนั้นเหมาะในการเชื่อมโยงในขณะที่จัดการทักษะ การทำงานและการสร้างเครือข่ายกับผู้คนจากหลากหลายสาขา หลากหลายวิสัยทัศน์และการทำงานร่วมกันเพื่อดูแลโครงการที่เขาหลงใหล
การแสวงหาความสมบูรณ์แบบเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเริ่มต้นการถ่ายภาพเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ด้วยความคิดที่อยากจะควบคุมบางสิ่งที่บางครั้งไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ธรรมชาติ ในมุมมองผ่านองค์ประกอบต่างๆอย่างเลนส์กล้องและองค์ประกอบทางศิลปะอื่นๆ เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่เขาพยายามเข้าใจแก่นแท้ของเวลาและความสวยงามของภูมิทัศน์ธรรมชาติ ซึ่งได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้เขาในฐานะนักเดินทางและศิลปิน บทเรียนที่ยังคงอยู่เมื่อเวลาผ่านไปคือการใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่าและมีความเคารพในธรรมชาติ บางครั้งช่วงเวลาระหว่างแต่ละขั้นตอนก็มีความสำคัญมากกว่าผลลัพธ์ ยิ่งกระบวนการนั้นมีความสำคัญมากเท่าไรก็จะยิ่งมีความพึงพอใจกับผลลัพธ์มากขึ้นเท่านั้น อีกทั้งกระบวนการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงโครงการก็มีความสำคัญมากและควรได้รับความช่วยเหลือมากกว่าการแสดงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มันคือความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเติบโตและการพัฒนาส่วนบุคคล
สำหรับผู้ชายในวัย 25 ปีนั้น ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานับเป็นช่วงเวลาแห่งความก้าวหน้าซึ่งจะมีความหมายไปตลอดชีวิตและมันก็เป็นผลที่มาจากการกระทำหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำๆจนทำให้ตัวเขาได้มีมุมมองที่แตกต่างกันต่อการถ่ายภาพ กรอบความคิดของเขาเป็นกรอบความคิดที่ปรับเปลี่ยนได้และมีความยืดหยุ่นในการปรับสัญชาตญาณและทักษะการสร้างงานศิลปะ เขาเชื่อในพลังของภาพตั้งแต่แรกเริ่มผ่านการเล่าเรื่องและประสิทธิภาพของสื่อ ดังนั้นเขาจึงผลักดันขอบเขตของความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเพื่อมองหาและนำแนวคิดไปใช้ในกระบวนการผลิตทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว “คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณรู้” คำถามที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติของความเป็นจริง
เมื่อเราหันกลับออกมาเพื่อมองด้านชีววิทยาของธรรมชาติเป็นจุดศูนย์กลาง เราสามารถสรุปได้ว่าหากสิ่งต่างๆมีพลังชีวิตที่จะมีความสามารถในการสืบพันธุ์ เพื่อพยายามเอาตัวรอดและมีความสามารถในการรับรู้คุณค่าของตนเอง ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ในกระบวนการการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์มักทำให้เขาเกิดความสนใจต่อความแตกต่างของค่านิมยม ไปจนถึงแนวคิดหลักของธรรมชาติกับการเลี้ยงดู เราจะคืนแนวคิดและการแบ่งช่องว่างระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างไร ไปจนถึงความประณีตของประวัติศาสตร์มนุษย์เกี่ยวพันกันเพียงใดกับการอนุรักษ์โลก อารยธรรมมีปัญหาในตัวของมันเอง ตั้งแต่ส่วนรวมไปจนถึงระดับความสนใจเฉพาะบุคคล เราสามารถนำความเจริญรุ่งเรืองของความเป็นปัจเจกนิยมมาสู่การทำงานร่วมกันในระดับใด และเราจะขีดเส้นแบ่งตรงไหน โดยยังคำนึงถึงผลประโยชน์ทั้งหมดของเราด้วย คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่รายล้อมอยู่รอบตัวเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมปัจจุบันและตระหนักถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มีหลากหลายระบบความเชื่อ บรรทัดฐานและเป้าหมายของการดำรงอยู่ เราควรจะไปต่ออย่างไร? อะไรคือจุดเริ่มต้นของสิ่งเหล่านี้และเราควรจะทิ้งอะไรไว้เบื้องหลัง?